เครื่องใช้ในบ้านที่ใช้กันทั่วไป

เครื่องปรับอากาศ 10 อันดับ ราคาไม่เกิน 20,000 ยี่ห้อไหนดี 2021

“ซื้อแอร์ยี่ห้อไหนดี?” เป็นคำถามที่พบบ่อยสำหรับคนที่กำลังเลือกซื้อ เครื่องปรับอากาศ ใหม่ แอร์ยี่ห้อดังๆ ที่มีชื่อเสียงมายาวนาน และเลือกตัวแทนจำหน่ายที่น่าเชื่อถือก็สามารถทำให้เรามั่นใจได้ระดับหนึ่ง ทั้งนี้แอร์ทุกยี่ห้อทุกรุ่นก็มีข้อดี มีจุดเด่นและประสิทธิภาพที่ต่างกันไป จึงควรพิจารณาหลายๆ ด้านก่อนตัดสินใจ ไดกิ้นจึงขอแนะนำแนวทางในการเลือกซื้อแอร์ให้ตรงกับความต้องการใช้งานและคุ้มค่ามากที่สุด บทความนี้เราจึงจะมาแบ่งปันกันถึงวิธีในการเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศว่าต้องเลือกอย่างไรจึงจะคุ้มค่าทั้งการใช้งานและประหยัดไฟ อีกทั้งได้รวบรวม 10 อันดับ เครื่องปรับอากาศที่มีราคาไม่เกิน 20,000 บาท มาให้เปรียบเทียบเพื่อตัดสินใจเลือกซื้อกันอีกด้วยค่ะ

แม้ว่าจะกำหนดงบประมาณสำหรับเครื่องปรับอากาศเอาไว้แล้ว ก็ยังคงมีให้เลือกซื้อกันหลายรุ่นจากหลากแบรนด์ ซึ่งหากจะเลือกเครื่องปรับอากาศที่คุ้มค่าทั้งในด้านการใช้งานและประหยัดไฟด้วยนั้น จะมีรายละเอียดใดที่ต้องคำนึงถึงกันบ้าง ไปติดตามกันเลยค่ะ

BTU (British Thermal Unit) คือ หน่วยที่ใช้วัดปริมาณความร้อนหน่วยหนึ่ง (ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันมากในระบบของเครื่องปรับอากาศ) สามารถเทียบได้กับหน่วยจูลหรือแคลอรี่ในระบบสากล โดยที่ความร้อน 1 BTU คือปริมาณความร้อนที่ทำให้น้ำ 1 ปอนด์มีอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง 1 องศาฟาเรนไฮด์ แอร์นั้นจะวัดกำลังความเย็นหรือความสามารถในการดึงความร้อน (ถ่ายเทความร้อน) ออกจากห้องปรับอากาศในหน่วยบีทียู (BTU) เช่นแอร์ขนาด 14,000 บีทียูต่อชั่วโมง หมายความว่าแอร์เครื่องนั้นมีความสามารถในการดึงความร้อนออกจาก ห้องปรับอากาศ 14,000 บีทียูภายในเวลา 1 ชั่วโมง

750 สำหรับห้องนอนปกติ *ไม่โดดแดด

800 สำหรับห้องนอนปกติ *โดดแดด

850 สำหรับห้องทำงาน *ไม่โดดแดด

900 สำหรับห้องทำงาน *โดดแดด

950 – 1,100 สำหรับร้านอาหาร ร้านทำผม มินิมาร์ท ร้านค้า สำนักงาน *ไม่โดดแดด

1,000 – 1,200 สำหรับร้านอาหาร ร้านทำผม มินิมาร์ท ร้านค้า สำนักงาน *โดดแดด

1,100 – 1,500 ห้องประชุม ห้องสัมมนา ร้านอาหารสุกี้/ชาบู/ปิ้งย่างที่มีหม้อต้มหรือเตาความร้อนเยอะ หรือห้องที่มีจำนวนคนต่อพื้นที่เยอะกว่าปกติหลายเท่า

ตัวอย่างการคำนวณ

สำหรับใครที่กังวลเรื่องเสียงรบกวนจากเครื่องปรับอากาศ เราขอแนะนำให้เลือกซื้อเครื่องปรับอากาศระบบ Inverter ซึ่งอาศัยการทำงานของมอเตอร์ที่มีแรงสั่นสะเทือนน้อยกว่า เสียงในการทำงานจึงเบาและไม่รบกวนการนอนหลับ อีกทั้งเครื่องปรับอากาศระบบ Inverter ยังประหยัดไฟมากกว่า เนื่องจากหลักการทำงานนั้น เป็นการเร่งทำความเย็นจนถึงระดับอุณหภูมิที่ตั้งค่าไว้ แล้วจึงลดการทำงานลงจนกว่าอุณหภูมิในห้องจะสูงกว่าที่กำหนด ต่างจากเครื่องปรับอากาศแบบธรรมดาที่จะตัดการทำงานและรีสตาร์ทใหม่เพื่อเริ่มทำความเย็นอีกครั้ง ซึ่งทั้งใช้พลังงานที่มากกว่า และเสียงดังกว่าการทำงานของเครื่องปรับอากาศแบบ Inverter นั่นเองค่ะ

เชื่อว่าหลายคนคงใช้เครื่องปรับอากาศกันหลายชั่วโมงต่อวัน ดังนั้น หากไม่อยากตกใจกับบิลค่าไฟในช่วงปลายเดือน เราแนะนำว่าในขณะเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศ ให้คำนึงถึงประสิทธิภาพในการประหยัดพลังงานกันด้วยนะคะ ส่วนรายละเอียดในการเปรียบเทียบค่าต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องจะมีอะไรบ้างนั้น ไปดูกันต่อเลยดีกว่าค่ะ

อันดับแรกในการมองหาเครื่องปรับอากาศที่ประหยัดพลังงาน เราแนะนำให้มองหาฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 ที่ในปัจจุบันนั้น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้มีการปรับปรุงมาตรฐานใหม่เป็น “ฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 ติดดาว” เนื่องจากเครื่องใช้ไฟฟ้าส่วนใหญ่ รวมทั้งเครื่องปรับอากาศล้วนผ่านการรับรองมาตรฐานประหยัดพลังงานแบบเดิมกันแทบทั้งหมด ในฉลากแบบใหม่จึงมีการระบุมาตรฐานที่ละเอียดมากขึ้นอีก 4 ระดับ ตั้งแต่ เบอร์ 5 ไม่มีดาว ไปจนถึง 3 ดาว ซึ่งเป็นระดับสูงสุดค่ะ

ตรวจสอบจากค่า EER หรือ SEER ของเครื่องปรับอากาศ

หลังจากมองหาฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 กันไปแล้ว ยังมีอีกหนึ่งวิธีสำหรับเปรียบเทียบการประหยัดพลังงานของเครื่องปรับอากาศ ซึ่งก็คือการเปรียบเทียบค่า EER (Energy Efficiency Ratio) ที่วัดความสามารถในการทำความเย็น (BTU/h) ต่อกำลังไฟที่ใช้ไปหรือกำลังวัตต์ (W) (EER = BTU/ชั่วโมง/วัตต์) ซึ่งค่านี้พบได้มากในเครื่องปรับอากาศประเภท Fixed Speed หรือที่ไม่ใช่ Inverter ซึ่งหากค่า EER ยิ่งสูงแสดงว่า เครื่องปรับอากาศรุ่นนั้นยิ่งกินไฟน้อยค่ะ

ส่วนเครื่องปรับอากาศประเภท Inverter จะวัดได้จากค่า SEER (Seasonal Energy Efficiency Ratio) ซึ่งมีหลักการพิจารณาคล้าย ๆ กับค่า EER เพียงแต่มีการนำอุณหภูมิภายนอกซึ่งส่งผลต่อการทำงานของเครื่องปรับอากาศมาคำนวณด้วย ทำให้ได้ค่าตัวเลขที่ใกล้เคียงกับการใช้พลังงานจริง และเช่นเดียวกันกับค่า EER ที่หากค่า SEER ยิ่งสูง ก็ยิ่งกินไฟน้อย ส่วนค่าที่เป็นมาตรฐานในการประหยัดพลังงานนั้นจะอยู่ที่ EER 11 และ SEER 13 ขึ้นไปค่ะ

เครื่องปรับอากาศในปัจจุบันนอกจากจะมีเทคโนโลยีทำความเย็นที่ทันสมัย หลายรุ่นยังมีโหมดและฟังก์ชันเสริมที่น่าสนใจ เช่น Eco Mode สำหรับประหยัดพลังงาน, Sleep Mode ลดการทำงานลงในขณะที่เรานอนหลับ และฟังก์ชันทำความสะอาดอัตโนมัติ เพื่อให้สามารถทำความเย็นได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ที่สุดท้ายแล้วเมื่อใช้งานไปสักระยะก็ต้องจ้างช่างผู้เชี่ยวชาญมาล้างทำความสะอาดกันอยู่ดีค่ะ และที่สำคัญ เครื่องปรับอากาศที่ยิ่งมีฟังก์ชันเสริมจำนวนมาก ไม่เพียงแต่จะมีราคาสูงกว่ารุ่นทั่วไป โครงสร้างภายในที่ซับซ้อนยังซ่อมแซมได้ยาก ดังนั้น หากต้องการที่จะจำกัดงบประมาณ แนะนำให้เลือกซื้อรุ่นที่มีฟังก์ชันเท่าที่จำเป็นค่ะ

การเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศนอกจากราคาของตัวเครื่องแล้ว อย่าลืมเผื่อค่าใช้จ่ายสำหรับการติดตั้งและค่าขนส่งกันด้วยนะคะ เนื่องจากมีผู้ขายเพียงไม่กี่รายเท่านั้นที่มีบริการติดตั้งให้โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ ควรที่จะสอบถามถึงเงื่อนไขและรายละเอียดของประกันอย่างละเอียดด้วยว่า ระยะเวลาที่ประกันครอบคลุมนั้น แยกเป็นส่วนของคอมเพรสเซอร์หรืออะไหล่อื่น ๆ จำนวนกี่ปีบ้าง และมีการจำหน่ายประกันอื่น ๆ เพิ่มเติมหรือไม่

หลังจากที่ได้ทราบถึงวิธีในการเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศกันไปอย่างครบถ้วนแล้ว เราลองไปดูกันดีกว่าค่ะว่า ใน 10 อันดับนี้ จะมีเครื่องปรับอากาศรุ่นใด ยี่ห้อไหน ที่น่าใช้งานกันบ้าง

เมื่อใช้งานไประยะหนึ่งแล้ว ความชื้นภายในเครื่องปรับอากาศอาจก่อให้เกิดการสะสมของเชื้อราและแบคทีเรีย จนส่งกลิ่นอับหรือกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ออกมาในขณะที่ใช้งาน ซึ่งวิธีในการแก้ปัญหานั้นมีอยู่หลายวิธีด้วยกันค่ะ เช่น การฉีดสเปรย์ปรับอากาศเพื่อลดกลิ่นอับเป็นครั้งคราว การใช้สเปรย์โฟมสำหรับทำความสะอาด แต่ที่เห็นผลที่สุดก็ต้องเป็นการถอดแผ่นกรองอากาศออกมาล้างทำความสะอาดค่ะ

ซึ่งขั้นตอนในการล้างแผ่นกรองอากาศนั้นก็ไม่มีอะไรที่ซับซ้อน เพียงถอดฝาครอบด้านหน้าของเครื่องปรับอากาศ และนำแผ่นกรองออกมาทำความสะอาดด้วยเครื่องดูดฝุ่น จากนั้นเช็ดด้วยผ้าเปียกหมาด ๆ หรือนำไปฉีดล้างน้ำและขัดด้วยแปรงที่มีขนนิ่ม แล้วนำไปตากให้แห้งสนิทก่อนที่จะประกอบกลับเข้าไปตามเดิม เพียงเท่านี้ เครื่องปรับอากาศของเราก็จะสะอาดและสามารถลดกลิ่นไม่พึงประสงค์ได้แล้วค่ะ

เมื่อเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศที่ถูกใจกันไปแล้ว ก็อย่าลืมที่จะหมั่นดูแลรักษาความสะอาดด้วยการถอดแผ่นกรองอากาศออกมากำจัดฝุ่นและสิ่งสกปรกกันเป็นประจำ เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคที่อาจก่อปัญหาสุขภาพ และอย่าลืมที่จะใช้บริการล้างแอร์และเติมน้ำยาแอร์โดยช่างผู้เชี่ยวชาญอย่างน้อย 1 – 2 ครั้งต่อปี เพื่อให้สามารถทำความเย็นได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ทั้งยังเป็นการช่วยยืดอายุการใช้งานอีกด้วยค่ะ

สุนงคาน เหมกุล

LEAVE A REVIEW